วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561








เทคโนโลยี "เลเซอร์" รักษาอาการ "ภูมิแพ้"
เทคโนโลยี "เลเซอร์" รักษาอาการ "ภูมิแพ้"
โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่พบมากในสังคมไทย ซึ่งจากสถิติของสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทย พบโรคภูมิแพ้ในเด็กไทยสูงขึ้นร้อยละ 38 พบในผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 20 ทำให้ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มากขึ้น 3 - 4 เท่า เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมาโรคภูมิแพ้เป็นโรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายมีความผิดปกติต่อสารก่อภูมิแพ้ ส่งผลให้มีอาการผิดปกติในสารที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ อาทิ ไรฝุ่น เชื้อราในอากาศ อาหาร ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ ซึ่งในร่างกายคนปกติ จะเเพ้สารก่อภูมิแพ้ ได้น้อยมาก หรืออาจจะไม่มีอาการ แต่สำหรับในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อาการจะเกิดขึ้นแตกต่างกันออกไป  ความรุนแรงไม่เท่ากัน เเม้ว่าจะเป็นสารก่อภูมิแพ้ชนิดเดียวกันก็ตาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของสารก่อภูมิแพ้ ที่ได้รับ เเละการตอบสนองของอวัยวะนั้นๆ  โดยโรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่ไม่หายขาด  เเต่เป็นโรคที่มีการเเปรปรวนในตัวเองสูง หากไม่มีการดูเเลสุขภาพ โรคภูมิแพ้ก็อาจจะกลับมาเป็นได้ใหม่  สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นภูมิแพ้ การออกกำลังกายให้ร่างกายเเข็งเเรงอยู่เสมอ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง
 

เลเซอร์ รักษาอาการภูมิแพ้

อย่างไรก็ตาม สำหรับในบางคนที่ต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง จะมีเทคโนโลยีทางการเเพทย์ที่สามารถรักษาอาการได้ คือ การรักษาโดยการใช้เลเซอร์ ซึ่งจะทำการยิงเลเซอร์ไปที่ตัวเซ็นเซอร์ที่รับและสัมผัสได้ไวในโรคภูมิแพ้ จะอยู่ที่ปลายจมูกบริเวณด้านหน้า เรียกว่า Inferior Turbinate เพื่อไปทำลายตัวรับสัญญาณภูมิแพ้ที่อยู่บริเวณดังกล่าวให้ทำงานน้อยลง โดยจะไม่เกิดปฏิกิริยากระตุ้นสารก่อภูมิแพ้อีก และยังช่วยลดขนาด จำนวนของเส้นเลือดที่อยู่ใต้เยื่อบุโพรงจมูก ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้โล่งขึ้น มีน้ำมูกน้อยลง โดยพลังงานเลเซอร์ จะทำให้เนื้อเยื่อเเข็งตัว จากนั้นจะมีการปรับสภาพของเส้นเลือดเเละเยื้อบุ และประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีสะเก็ดแผล แล้วเพียงกลับมาเอาสะเก็ดออก ก็จะมีความรู้สึกโล่งจมูก อาการภูมิแพ้ลดลง ปริมาณการใช้ยาก็ลดลง 
ขอขอบคุณ
ข้อมูล : นพ.สรัลชัย เกียรติสุระยานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
ภาพ : iStock

เอกสารดาวน์โหลด

การรักษาหน้าจอด้วยวัสดุโพลิเมอร์

เทคโนโลยีหน้าจอรักษาตัวเองกำลังก้าวหน้าไปอีกขั้น ด้วยวัสดุโพลิเมอร์ชนิดใหม่
เทคโนโลยีหน้าจอรักษาตัวเองกำลังก้าวหน้าไปอีกขั้น ด้วยวัสดุโพลิเมอร์ชนิดใหม่!


บทความที่ตีพิมพ์โดย Science ได้พูดถึงวัสดุชนิดใหม่ที่มีความแข็งแรง และเป็นโพลิเมอร์ที่มีลักษณะคล้ายแก้วซึ่งสามารถรักษาตัวเองได้ โดยการใช้แรงดันจากมือ!โดยปกติแล้ววัสดุที่รักษาตนเองได้จะต้องได้รับความร้อนถึงประมาณ 120 องศาเซลเซียสจึงจะเกิดกระบวนการคืนรูป แต่การค้นพบใหม่นี้อาจทำให้ในที่สุดเราก็จะได้ใช้อุปกรณ์ที่ซ่อมแซมตนเองได้เมื่อเกิดการแตกร้าววัสดุโพลิเมอร์ชนิดใหม่ดังกล่าว ถูกค้นพบโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียว โดยหนึ่งในทีมงานที่ร่วมวิจัยก็คือ ศาสตราจารย์ Takuzo Aida ซึ่งกล่าวว่า การค้นพบนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาด ซึ่งมีสาเหตุมาจากบัณฑิตคนหนึ่งสังเกตว่าขอบของโพลิเมอร์มักจะติดกันเมื่อถูกกดด้วยมือที่อุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียสหากการค้นพบวัสดุโพลิเมอร์ชนิดใหม่สามารถนำมาใช้ได้จริง จะทำให้เราไม่ต้องกังวลว่า หน้าจอจะแตกเมื่อทำสมาร์ทโฟนตกพื้นอีกต่อไป และแทนที่จะต้องมานั่งหงุดหงิดกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น สิ่งที่เราต้องทำก็เพียงแค่เอามือกดหน้าจอ และรอให้รอยแตกหายไป
ขอขอบคุณ


เอกสารดาวน์โหลด

พัฒนาเทคโนโลยีสร้างรองเท้า​จากเตาไมโครเวฟ



Asics พัฒนาเทคโนโลยีสร้างรองเท้า​จากเตาไมโครเวฟ

Asics พัฒนาเทคโนโลยีสร้างรองเท้า​จากเตาไมโครเวฟ
    หลังจากที่ Adidas ได้สร้างความฮือฮาด้วยการเปิดตัวเทคโนโลยีผลิตรองเท้าแบบเร่งด่วน ล่าสุด Asics แบรนด์รองเท้ากีฬาดังอีกแห่งได้ประกาศพัฒนาเทคโนโลยีผลิรองเท้าจากตู้ไมโครเวฟสำหรับให้บริการในช็อปทั่วไปเป็นครั้งแรกAsics แบรนด์รองเท้ากีฬาชื่อดังเผยว่า บริษัทกำลังพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตรองเท้าจากตู้อบไมโครเวฟ โดยจะนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปให้บริการลูกค้าในช็อปของ Asics ในอนาคต ซึ่งลูกค้าสามารถออกแบบรองเท้าตามสไตล์ของตัวเองได้ภายในเวลาเพียงกี่นาทีเท่านั้นโดยเว็บไซต์ Asics ระบุว่า เทคโนโลยีดังกล่าวจะมีวัสดุสำหรับผลิตรองเท้าหลากหลายรูปแบบ เมื่อเลือกประเภทของวัสดุที่ต้องการได้แล้วก็นำเข้าไปใส่ในไมโครเวฟที่มีเทคโนโลยีพิเศษ ซึ่งจะทำการออกแบบตัวรองเท้าและพื้นรองเท้ารวมไปถึงสีสัน ได้ตามที่ผู้สวมใส่ต้องการได้ทั้งนี้เทคโนโลยีดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Tayin Research andDevelopment จากไต้หวัน โดยชี้ว่าการใช้เทคโนโลยีไมโครเวฟในการขึ้นรูปพื้นรองเท้าจะประหยัดพลังงานมากกว่าการใช้การฉีดขึ้นรูปแบบปกติ ซึ่งจะช่วยให้การผลิตรองเท้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ขอขอบคุณ
ที่มา : https://www.sanook.com/men/21537/


เอกสารดาวน์โหลด

วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2561